Disney Minnie Mouse

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

                               บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 

               วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
     - วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์แจกกระดาษให้แบ่งคนละครึ่ง จากนั้นก็บอกให้เขียนชื่อเรา แล้วอาจารย์ก็บอกให้พวกเราไปติดชื่อในตางรางรายชื่อนักเรียนที่เขียนว่ามา
     - เพื่อนๆจำนวน 3 คน นำเสนอบทความคณิตศาสตร์ ตัวอย่างการสอนคณิตศาสาตร์ และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
     - กิจกรรมร้องเพลงคณิตศาสตร์ ได้แก่ เพลงสวัสดียามเช้า  เพลงสวัสดีคุณครู เพลงหนึ่งปีมีเพลงสิบสองเดือน เพลงเข้าแถว  เพลงซ้ายขวา เพลงจัดแถว เพลงขวดห้าใบ 
     - เรียนทฤษฎีเรื่องสาระคณิตศาสตร์


ทักษะ /ระดมความคิด
-กิจกรรมเขียนตารางสมาชิกของห้อง เสริมทักษะการลบจำนวน  การเขียนเลขฮินดูอารบิก การเปรียบเทียบจำนวนน้อยกว่า มากกว่า
-เพลง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ จำนวนนับ ทิศทาง ตำแหน่ง  


ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน 
-ช่วงเช้าวันนี้ไฟดับ ก็เปิดหน้าต่างเรียน แต่สักพักไฟมา 

การจัดการเรียนการสอน
-มีการตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา 

วิเคราะห์ตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกเพิ่มเมื่ออาจารย์อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์




วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ

พ่อธีร์ แชร์เทคนิคสอนลูก "เก่งเลข" ง่ายนิดเดียว




พ่อธีร์ แชร์เทคนิคสอนลูก เก่งเลข ง่ายนิดเดียว


         คือพ่อธีร์ ปัณณธีร์ได้แชร์เทคนิคสอนลูกให้เรียนเก่ง พ่อธีร์ได้เขียนหนังสือ คณิตศาสตร์เรื่องง่ายสอนได้ก่อนอนุบาล ซึ่งเป็นเรื่องดังจากเว็บบอร์ดที่มีคนเข้าไปอ่าน 200,000 ครั้ง พ่อธีร์นำมาทดลองสอนลูกวัย2 ขวบ พบว่าลูกเก่งคณิตศาสตร์อย่างน่าอัศจรรย์

       
โดยพ่อธีร์ แนะนำว่าควรเริ่มจากให้เด็กรู้จักสัญลักษณ์ของตัวเลข สอนให้นับ 1-10 สอนให้รู้จักจำนวน สอนเขียนตัวเลขโดยไม่จับดินสอ แต่ใช้นิ้วลากไปตามตัวเลข แล้วค่อยๆเพิ่มความซับซ้อนของเนื้อหาตามความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 4 กิจกรรมพื้นฐานที่พ่อธรีออกแบบไว้สำหรับพ่อแม่เพื่อนำไปใช้ให้เด็กเรียนรู้ที่บ้าน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
        1. ทายลูกปัด เป็นกิจกรรมที่สอนให้ลูกรู้จักจำนวน  การเพิ่มการลด 
        2. นับเลขปากเปล่า เป็นกิจกรรมนับเลขเร็ว หรือจับเวลาให้ลูกนับไม่เกิน 1นาที เช่น 1-10 เป็นการฝึกความไวของสมองในการนับเลข
       3. วางเบี้ย เป็นกิจกรรมให้ลูกรู้จักใช้สายตา การมอง และการสัมผัส เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตำแหน่งของตัวเลขได้อย่างแม่นยำ
      4. เขียนเลข เป็นกิจกรรมฝึกให้ลูกเกิดการรับรู้ที่ดี เพราะประสาทสัมผัสของลูกส่วนใหญ่จะอยู่ที่นิ้วมือ

     
ทั้ง 4 กิจกรรมนี้ พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเก่งเลขก็สอนลูกได้ ที่สำคัญอย่าพยายามทำให้เป็นทฤษฎี พยายามเล่นกับเด็กด้วยท่าที สีหน้าและความรู้สึกที่เหมาะสม  โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ที่สำคัญเลิกคาดหวังว่าลูกจะทำได้  ตัดความคาดหวังออกไปให้หมด เพราะถ้าเกิดคุณหวัง ความกดดันจะเกิดกับเด็กทันที พวกนี้ล้มเหลวหมด  ดังนั้นใช้ความเป็นธรรมชาติเล่นกับลูก วันนี้ลูกทำไม่ได้ วันหน้าค่อยว่ากันใหม่  แต่ขอให้ใจเย็นๆ กระทำเป็นนิสัย และเล่นกับลูกให้สนุกก็พอ เพราะถ้าลูกสนุก อะไรๆมันก็ง่ายขึ้น พ่อธีร์กล่าว
        
    ที่มา :  http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000154241



สรุปตัวอย่างการสอนสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา) 



            ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กระดับปฐมวัย จำเป็นที่ครูปฐมวัยพันธุ์ใหม่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ  อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะการใช้ นิทานเป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็ก ๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป

          วิชาคณิตศาสตร์ก็ควรจะให้เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์  เราอยากให้เด็กมีทัศนะคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  เพราะว่าพอเด็กได้ยินคำว่าคณิตศาสตร์เด็กก็จะนึกถึงอะไรที่เป็นเรื่องที่ยาก  แต่เราสามารถที่จะปรับคณิตศาสตร์ให้เป็นเรื่องที่ง่ายได้  แต่เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ดี คือธรรมชาติของเด็ก เด็กชอบนิทาน  เด็กชอบฟังนิทานเราสามารถนำคณิตศาสตร์มาสอนโดยผ่านนิทาน   ซึ่งอาจารย์ธิดารัตน์ได้ยกตัวอย่างการสอนเรื่องการเปรียบเทียบ โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานเข้าสู่เนื้อเรื่องที่จะสอน  ใช้นิทานลูกหมูสามตัวมาเปรียบเทียบ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมแสดงเป็นตัวละคร จากนั้นก็ให้นักเรียนวิเคราะห์ร่วมกับครู เปรียบเทียบบ้าน เช่น หนัก หรือเบา  ขนาดของลูกหมู

ที่มา : http://thaiteachers.tv/tv/?t=10&c=367&v_page=1




สรุปวิจัย

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม

ศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ




ปริญญานิพนธ์ของ   : พิจิตรา เกษประดิษฐ์
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย  พฤษภาคม 2552 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยศรี-นครินทรวิโรฒ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้   ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง ที่มีอายุ 3 - 4 ปี ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ ซึ่งได้มาโดย
การสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จากจำนวนทั้งหมด 4 ห้องเรียน และได้เด็ก
จำนวน 20 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง ใช้เวลา
ในการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

การดำเนินการทดลอง
มีลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
2. ทำการทดสอบก่อนการทดลองกับนักเรียนกลุ่มทดลอง ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มทดลอง โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
กลุ่มละ 5 คน จำนวน 4 กลุ่ม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ระหว่างเวลา
10.00 – 10.20 . รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง จำนวน 24 กิจกรรม



ตัวอย่างการเขียนแผนการสอน



   

สรุปผลการวิจัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูง
กว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Pigitra_K.pdf




วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 

วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 (เวลา 08.30-12.30)

เนื้อหาที่เรียน
-วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาสาระการเรียนอาจารย์ก็ให้กระดาษมาแล้วให้นักศึกษาแจกกัน เพื่อนคนหนึ่งแจกแบบข้ามเพื่อนไป อาจารย์ก็เลยแนะนำให้แจกกระดาษแบบ 1ต่อ1 จะได้เร็วขึ้นหรือการหยิบกระดาษคนละแผ่นแล้วส่งต่อต่อเพื่อนที่นั่งข้างๆ  ปัญหาอีกอย่างคือกระดาษน้อยกว่าจำนวนคนหรือจำนวนคนมากกว่ากระดาษ แล้วอาจารย์ก็หยิบกระดาษมาให้เพิ่ม และหลังจากนั้นก็เรียนเกี่ยวกับเรื่องหัวข้อสำคัญการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะ/ระดมความคิด 
แก้ปัญหาการแจกกระดาษแล้วช่วยกันตอบเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศค่อยข้างเย็น เพื่อนก็เลยไปปิดแอร์

การจัดการเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ก็ไปร่วมกิจกรรมวันครู แต่ก็ยังมีความห่วงใยลูกศิษย์ คือมาสั่งให้ลิงค์บล๊อกไว้รอ เมื่อเสร็จกิจกรรมอาจารย์ก็กลับมาสอนปกติ เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี มีการโต้ตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอน

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้ก็ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พูดแล้วก็คิดตาม จดบันทึกสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ๆที่อาจาย์พูดถึงส่งในสมุดบันทึกของหนู





วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  1
วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559 ( เวลา  08.30 - 11.30น.)

เนื้อหาที่เรียน

- อาจารย์ได้แจกกระดาษ แล้วมีข้อกำหนดว่ากระดาษ 1 แผ่นต่อ 3 คนเราก็นับสามคนแล้วฉีกกระดาษแบ่งกันกับเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างๆ อาจารย์ให้เขียนลักษณะเด่นของตัวเอง แล้วรวบรวมส่ง จากนั้นอาจารย์ก็อ่านลักษณะเด่นว่าเป็นของใคร อาจารย์ก็สังเกตลักษณะนักศึกษา
- อาจารย์ตั้งปัญหาว่าถ้ามีวิธีไหนบ้างที่สามารถแบ่งกระดาษได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เพื่อนๆก็ช่วยกันตอบ จากนั้นก็ช่วยกันวิเคราะห์ว่าจะใช้วิธีไหนที่ดีที่สุด อาจารย์ก็เลยแนะนำวิธีของอาจารย์คือเรียกตัวแทนไป 5 คนแล้วก็ช่วยกันฉีกกระดาษเป็นแผ่นย่อยแล้วนำมาแจกเพื่อนๆ  คือทำให้เราได้แก้ปัญหาว่ามีจำนวนคนเท่านี้ ต้องใช้กระดาษกี่แผ่นจึงจะพอกับจำนวนคน เราก้ใช้การบวกลบคูณหารคณิตศาสตร์ที่เป็นทักษะเบื้องต้นที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้ จากนั้นอาจารย์ก็อธิบายการทำบล๊อกเกอร์

ทักษะ/ระดมความคิด
วิเคราะห์ปัญหาแล้วหาทางแก้ไขได้โดยใช้ทักษะคณิตเบื้องต้นมาประยุกต์ใช้ได้เหมาะสม

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์มีการเตรียมการสอนสอนมาดี เป็นกันเองกับนักศึกษา

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้ก็มีความพร้อมกับการเรียนและตั้งใจเรียนดี