Disney Minnie Mouse

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์  ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
           วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนคือเพื่อนนำเสนองาน บทความ ตัวอย่างการสอนและวิจัย จากนั้นอาจารย์ได้แบ่งเป็น 5 กลุ่ม นั่งเป็นรูปตัวยูให้แบ่งกลุ่มให้ช่วยกันคิด วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ หน่วยย่อยที่แต่ละกลุ่มคิดจะสอนเรื่องอะไรให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ 6 อย่างได้แก่
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3  เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                   ซึ่งกลุ่มฉันทำหน่วย "ตัวฉัน" ได้แบ่งหน้าที่ดังนี้
        วันจันทร์  สาวิตรีสอนเกี่ยวกับชื่อ/อายุ
        วันอังคาร  นันทนาภรณ์สอนเกี่ยวกับลักษณะของฉัน
        วันพุธ สุธาสิณี สอนเกี่ยวกับ
        วันพฤหัสบดี กัลปพฤกษ์ สอนเกี่ยวกับ
        วันศุกร์  นิตยาสอนเกี่ยวกับ


บรรยากาศการเรียนการสอนตึก 34


ทักษะ/การระดมความคิด
-พัชรภรณ์นำเสนอบทความคณิตศาสตร์  กิจกรรมที่สอนเด็กได้แก่  การเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นกับชีวิตประจำวัน เช่น 1 เหมือนเสาธง 2 เหมือนเป็น ,บัตรคำ ใช้บัตรคำที่เป็นตัวเลข ชูให้เด็กดู  แล้วถามเด็กๆว่านี้คือเลขอะไร, การรู้ค่าจำนวน นับสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดินสอ  สมุด, บทบาทสมมติ ให้เด็กๆสมมติตัวเองเป็นครู  ซึ่งครูต้องพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและ วิธีการจัดเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กจึงเป็นที่มาของคำว่า "เรียนปนเล่น"
-ทาริกา นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง การเรียนรู้การนับจำนวน หน่วยไข่ เป็นการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ขั้นนำ ครูพาเด็กร้องและเต้นประกอบเพลง  แม่ไก่   ขั้นดำเนินการนำไข่วันที่ 1 ให้เด็กนับ ครูถามเด็กว่ามีไข่กี่ฟอง  เด็กตอบว่าถึง ให้เด็กนับเรื่อยๆจนครบห้าวัน  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่ใช้ความจำ  คำบรรยาย ทำตามคำสั่ง ประกอบเพลง ผู้นำผู้ตาม การบูรณาการ การนับและบอกค่าได้
-ณัฐณิชานำเสนอวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบความพร้อมเกมการศึกษาและเพลงกับการใช้ตามคู่มือของครูของมหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มตัวอย่างการสอนนักเรียนชั้นอนุบาล 2  โรงเรียนกาญจนบุรี  มีนักเรียน 2 ห้อง ห้องอ.2/1 สอนโดยใช้เกมการศึกษาและเพลง  ห้องอ.2/2 สอนโดยใช้คู่มือของครู  ผลสรุปการเปรียบเทียบเกมการศึกษาและเพลงดีกว่าการสอนโดยใช้คู่มือของครู
-การระดมความคิดการทำมายแม็บ จำนวน  การแบ่งแบบ 1 ต่อ 1  การจัดกลุ่ม 

การประเมินผล
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆมาเรียนกันเกือบครบ  อากาศในห้องเรียนค่อยข้างเย็น ทำให้เราง่วงนอนในขณะที่อาจารย์สอน

การจัดการเรียนการสอ
แม้อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่พร้อม แต่อาจารย์ก็อธิบายเจาะลึกละเอียด พยายามให้เราวิเคราะห์และคิดตาม อาจารย์อธิบายละเอียดชัดเจนกับเนื้อหาที่เรียน

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้พยายามคิดตามที่อาจารย์สอน และสิ่งที่เพื่อนๆพูด บางเรื่องนึกไม่ออกจริงๆเมื่ออาจารย์ถาม 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
วันศุกร์  ที่  19 มีนาคม พ.ศ. 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
            วันนี้อาจารย์นัดเรียนที่ตึก 2 ตึกคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่จะเรียนที่นี้ อุปกรณ์การเรียนในตัวอาคารเรียนยังมีเยอะมาก อาจารย์ก็ให้นักศึกษาหาอุปกรณ์ที่พอใช้ได้นำไปใช้ประกอบการเรียน จากนั้นเมื่อหาอุปกรณ์การเรียนเสร็จ ก็เรียนที่ห้อง 224 อาจารย์อธิบายการทำมายแม็บ ซึ่งกลุ่มฉันทำเรื่อง หน่วยตัวฉัน ก็จะแบ่งหัวข้อย่อย ดังนี้ 
-ชื่อ/อายุ  
-ลักษณะ 
-สถานที่
-ประโยชน์ของฉัน
-ข้อควรระวัง
  
ทักษะ/การระดมความคิด
- การทำมายแม็บ อันดับแรกเราช่วยกันระดมความคิดจะทำหน่วยอะไร จากนั้นได้ตกลงกันทำเรื่อง  หน่วยตัวฉัน ก็ช่วยกันแบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อย ก็แบ่งคนละหัวข้อให้สมาชิกทุกคนไปแตกความคิดย่อยๆมาจะสอนเรื่องใดที่ให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้

การประเมินผล
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนก็เป็นไปด้วยดี เพื่อนๆมาเรียนค่อยข้างครบ 

การจัดการเรียนการสอ
วันนี้อาคารที่เราเรียนค่อยข้างไม่พร้อมต่อการเรียนเนื่องจากจะทุบตึกแล้ว  แต่อาจารย์ก็ได้ในตึกคณะสอนการทำมายแม็บและสรุปแบบรวบรัดให้เราเข้าใจ


วิเคาระห์ตนเอง
ฟังอาจารย์อธิบายการทำมายแม็บ แล้วก็พยายามคิดตาม และได้แบ่งงานกับเพื่อนๆเลือกหัวข้อใครจะรับผิดชอบหัวข้ออะไร


วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  8
วันศุกร์  ที่11 มีนาคม พ.ศ.2559(เวลา08.30-12.30น.)




เนื้อหาที่เรียน
          อาจารย์มอบหมายงานให้ทำจิกซอ

อุปกรณ์การทำ
       1.ตัวแบบ
       2.กระดาษกะลัง
       3.ดินสอ
       4.ไม้บรรทัด
       5.คัตเตอร์

ขั้นตอนการทำ

1.วาดภาพตามตัวแบบ





2.ใช้คัตเตอร์ตัดตามรูปร่าง



3. ผลงาน




ทักษะ/การระดมความคิด
- รูปร่าง รูปทรง

การประเมินผล
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆมีความตั้งใจในการทำงานดี และมีเพื่อนบางส่วนไปช่วยอาจารย์เก็บเอกสาร


การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมาให้เราทุกสัปดาห์


วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้ไปช่วยอาจารย์เก็บเอกสารจนกระทั่งเสร็จ



วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
เริ่มต้นการเรียนด้วยการนำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน  วิจัย  จากนั้นก็อาจารย์แบ่งงานงานคู่ให้ทำตารางเป็นสื่อการเรียนการสอนคณิตศสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัสดุ/อุปกรณ์
1.กรรไกร/คัตเตอร์
2.กาว
3.ไม้บรรทัด
4.กระดาษเปล่า
5.แผ่นกะลัง
6.สติกเกอร์
7.สก้อตเทป
8.กระดาษเคลือบ

ขั้นตอนการทำ
1.วางแผน ออกแบบการทำตาราง
2.ตัดแผ่นกะลังเป็นครึ่งหนึ่ง
3.นำแผ่นกระดาษเปล่ามาวัดความกว้างความยาวของช่องตารางตามขนาดที่ต้องการ
4.ทากาวบนแผ่นกะลัง แล้วนำกระดาษมาติดทีละข้าง
5.นำสติกเกอร์ติดขอบในช่องตารางทุกช่อง
6.ตัดกระดาษเคลือบให้เหลือขอบเล็กน้อย แล้วนำมาเคลือบตาราง

ภาพประกอบขั้นตอนการทำตาราง

















ทักษะ/ระดมความคิด
-  รู้จักตัวเลขจำนวน  ค่าของตัวเลข สังเกตรูปทรง


ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
        บรรยากาศในห้องเย็นสบาย  มีสื่ออุปกรณ์พร้อมสำหรับการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
       ช่วงที่เพื่อนนำเสนองานอาจารย์ก็มีอธิบายความรู้เพิ่ม แล้วก็มีการถามนักศึกษาให้เราได้แสดงความคิดเห็น

วิเคาระห์ตนเอง
        วันนี้ฉันนำเสนอบทความ ก็เตรียมพร้อมสำหรับการนำเสนอมาก่อนหน้านี้พอสมควร วันนี้ก็ทำเต็มที่ งานคู่ก็ช่วยกันทำจนเสร็จ แม้จะมีปัญหาเล็กน้อยในขั้นตอนการทำ  แต่สามารถแก้ไขปัญหาได้