Disney Minnie Mouse

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันศุกร์ ที่ 19กุมภาพันธ์ 2559(เวลา08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
สำหรับการเรียนวันนี้ จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์แจกไม้เสียบลูกชิ้นให้เราไปตัดมาสามขนาด วันนี้อาจารย์แจกดินน้ำมันเพิ่ม ให้เราใช้ดินน้ำมันกับไม้เสียบลูกชิ้นทำเป็นรูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้วอาจารย์ได้อธิบายการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ดังนี้
     
การวิเคราะห์โจทย์  แนวคิด
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
ลงมือทำ
ผลงาน
การประเมินผล

อุปกรณ์

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

รูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า

รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

ทักษะ/ระดมความคิด
-การจัดการเรียน โดยใช้ปัญหาในฐานการสอน 
- การสอนแบบนี้เป็นการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ ให้เด็กลองผิดลองถูก ใช้ศิลปะสร้างสรรค์ชิ้นงาน 
- วราพร นำเสนอบทความ  เรียน เล่นคณิต ของชั้นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เด็กด้อยโอกาส ใช้การร้องเพลง เล่นเกมหยิบก้อนหินตามคำที่ครูบอกในการเรียนรู้
-ธณภรณ์ นำเสนอวิดีโอตัวอย่างการสอนของโทรทัศน์ครู การสอนคณิตศาสตร์ 
-นิตยา นำเสนอวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2551 ของนักเรียน คือชายหญิง อนุบาล 2  "เรื่องกล้วยแสนอร่อย"  ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้ 3ขั้น ได้แก่ ทบทวนความรู้ เลือกหัวข้อที่สนใจ, ค้นคว้าวิจัยหาความรู้, การประเมินผล

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อน เซค 101มาเรียนด้วย ห้องเรียนค่อยข้างหนาแน่น อากาศในห้องเรียน

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์อธิบายความรู้ให้ก็ช่วยให้เราคิดวิเคราะห์ เมื่ออาจารย์ถาม นักศึกษาก็ช่วยกันตอบดี

วิเคราะห์ตนเอง
ฟังอาจารย์อธิบายและเพื่อนนำเสนองาน และจดบันทึกเพิ่มในสมุดด้วย



วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)



เนื้อหาที่เรียน
      วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้ทำตางรางและให้แรงเงารูปภาพ   ถ้าเด็กๆได้ลงมือกระทำกิจกรรมแบบนี้เด็กจะมีความสุข  เพราะเป็นการทำแบบอิสระ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง  จากนั้นเพื่อนได้นำเสนอบทความ  ตัวอย่างการสอน วิจัย  แล้วดูหนังสือนิทาน เรื่อง เต่าน้อยให้วาดรูป  เป็นนิทานที่สอนรูปทรงคณิตศาสตร์  เช่น วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นต้น  จากนั้นอาจารย์เปิดวิดีโอการเรียนแบบ Project  Approach ของโรงเรียนเกษมพิทยา ที่สอนโปรเจคเรื่องเห็ด ซึ่งมีลักษณะการเรียนแบบProject  Approachมี  5 ลักษณะ ได้แก่ การอภิปราย การนำเสนอประสบการณืเดิม การทำงานภาคสนาม  การสืบค้น  การจัดแสดง  เมื่อดูเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มทำงานกลุ่มเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย

ทักษะ/ระดมความคิด
- การเรียนรู้ที่ดี จัดกิจปกรรมให้เด้กลงมือกระทำ  เช่น กิจกรรมแรงเงารูปภาพ  ทำให้ได้ฝึกทักษะการคิด สืบเสาะหารูปทรงต่างๆ

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆมาเรียนเช้าก็มานั่งรอเรียนในห้องเรียน  แต่มีจำนวนน้อยที่เข้าเรียนสาย  อากาศในห้องก็ไม่ร้อนไม่เย็นมาก

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์สอนละเอียดดี เมื่อพูดถึงเรื่องหนึ่งอาจารย์ก็จะอธิบายเรื่องนั้นแล้วค่อยเปลี่ยนเรื่องใหม่สอน  อาจารย์ใจดี เมื่อเห็นว่านักศึกษาทำตัวไม่เหมาะสม อาจารย์ก็ตักเตือน เพื่อให้เราปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น

วิเคาระห์ตนเอง
วันนี้หนูก็ฟังอาจารย์อธิบาย  ช่วงอาจารย์ถามก็ตอบเป็นครั้งคราว 


วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
วันศุกร์  ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
- วันนี้อาจารย์ได้เอาตัวอย่างปฏิทินมาให้ดู และช่วยกันวิเคาระห์ปฏิทินว่าเป็นสื่อช่วยส่งเสริมเรื่องใดบ้าง  เรียนเกี่ยวกับตารางเวรประจำวัน ประเภทเกมการศึกษา เพลง และเพื่อนนำเสนอ บทความ ตัวอย่างการสอนและวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  จากนั้นก็ได้นำเสนอของเล่นที่แต่ละกลุ่มเตียมมมา



ทักษะ/ระดมความคิด
- ปฏิทิน ช่วยส่งเสริม การจัดหมวดหมู่ สี วัน เลขฮินดูอารบิก 


ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
- อากาศดี ไม่หนาว ไม่ร้อน ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้จัดเป็นระเบียบ อุปกรณ์การสอนก็พร้อมสำหรับการใช้งาน 

การจัดการเรียนการสอน
- อาจารย์ก็สอนตามแผนที่อาจารย์ได้เตรียมมา  บทเรียนไม่ยากมาก  

วิเคราะห์ตนเอง
- บางคำถามที่อาจารย์ถามก้ยังคิดไม่ออกว่าต้องตอบว่าอะไร แต่พยายามคิดตามเมื่ออาจารย์อธิบาย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ใหม่ลงในสมุด

ชดเชย



เนื้อหาที่เรียน
- การอ่านเวลาก่อนและหลัง การแบ่งกลุ่ม จำนวน ตัวเลขฮินดูอารบิก และต้องดูพัฒนาการของเด็ก ตามช่วงอายุตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง  ด้วยวิธีการเรียนรู้ สัมผัสทั้ง  5 ด้วยการลงมือกระทำ
- สาระสำคัญ
  สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  สาระที่ 2  การวัด
  สาระที่ 3  เรขาคณิต
  สาระที่ 4  พีชคณิต
  สาระที่ 5  การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  สาระที่ 6  ทักษะและกระวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะ / ระดมความคิด
- การอ่านเวลาก่อนและหลัง จำนวน ตัวเลขฮินดูอารบิก  การแบ่งกลุ่ม

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
- อุปกรณ์ในห้องเรียนพร้อมสำหรับการเรียนการสอน  อากาศกำลังดี ไม่เย็นไม่ร้อนมาก

การจัดการเรียนการสอน
-วันนี้อาจารย์ติดธุระนิดหน่อย แต่ด้วยความห่วงใยต่อศิษย์ อาจารย์รีบมาสอนพวกเรา

วิเคราะห์ตนเอง
- จดบันทึกเพิ่มเติมเมื่ออาจารย์อธิบาย