Disney Minnie Mouse

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพฤหัสบดี  ที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 08.30-12.30น. 
(เรียนชดเชยวันศุกร์)
เนื้อหาที่เรียน
   สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้เรียนที่ตึกคณะศึกษาศาตร์ ห้องปฎิบัตการ  อาจารย์สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และก็เอกสารประกอบการเรียน อาจารย์ก็อธิบายและมีการสนทนาพูดคุยกับนักศึกษา ช่วงสุดท้ายก็มีตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทานที่ทำมา

เอกสารประกอบการเรียน


เพื่อนๆออกมานำเสนอนิทาน


นิทานกลุ่มพวกหนูค่ะ 




ทักษะ/การระดมความคิด
- ประสบการณ์สำคัญ คือสิ่งที่เด็กได้ทำ ประสบการณ์ทำให้เิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ เกิดจาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  
- การจัดตารางกิจกรรมสำรับเด็กปฐมวัย  จัดกิจกรรมหลักสลับกับกิจกรรมอาจลำดับกิจกรรม เช่น  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง  กิจกรรมเกมการศึกษา

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศในห้องเรียนวันนี้ค่อยข้างเย็น ห้องเรียนสะอาดสะอ้าน โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบดี

การจัดการเรียนการสอน
การเรียนวันนี้ได้คิดวิเคราะห์ละเอียดดี ชอบที่อาจารย์ให้พวกเราคิดอย่างเป็นกระบวน มีเหตุผล และ
อาจารย์กก็ตรวจสอบ ว่าเราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน เช่นการจัดกิจกรรมศิปสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมแบบไหน อาจารย์ก็จะแนะนำให้การทำให้ อาจารย์สอนสนุก เข้าใจ อธิบายความรู้ละเอียดดีมากๆเลยคะ

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้ก็รู้สึกยังตอบคำถามอาจารย์ไม่ถูกต้องเต็มร้อยเปอร์เซ็น แต่พยายามคิด พูด อธิบายตามตนเข้าใจและก็รับฟังคำแนะนำจากอาจารย์มาคิดทบทวนความรู้




วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์  ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
สำหรับการเรียนในวันนี้ อาจารย์ก็ได้สอบถามว่าเราเรียนถึงไหน ติดค้างงานอะไรหรือเปล่า จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มแต่งนิทานตามหน่วยที่แต่ละกลุ่มสอน แต่กลุ่มฉันสอนหน่วยตัวฉันแต่งนิทานแล้ว  อาจารย์ก็ลองให้เขียนการจัดประสบการณ์ 5แผน ตามวันจันทร์-วันศุกร์

แผนการสอนวันอังคารที่หนูลองเขียนค่ะ



ทักษะ/ระดมความคิด
- นิทานเป็นเรื่องราวจึงเหมาะกับการเรียนของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่เด็กๆชอบ ชอบฟัง คิดจินตนาการสร้างสรรค์ และนิทานยังเป็นสื่อที่บูรณาการคณิตศาสตร์ได้ เช่น จำนวน การจำแนก เวลา เป็นต้น


ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
ในห้องเรียน เพื่อนๆค่อยข้างมาเรียนกันเกือบครบ  อากาศเย็นสบายเหมาะกับการเรียนมากๆเลยค่ะ

การจัดการเรียนการสอน
การเรียนในวันนี้ก็ผ่านพ้นไปด้วยดี อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับการแต่งนิทานให้ดีมีคุณภาพ อาจารย์ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา วันนี้พวกหนูกังวลกับการสอบอีกวิชาหนึ่ง อาจารย์ก็อธิบายให้พวกหนูได้เข้าใจในเนื้อหา

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้ก้ได้ลองเขียนแผนการสอน ตามที่ตัวเองได้ลองเขียนและทดลองสอนไปแล้ว ก็นำคำแนะนำที่อาจารย์สอนมาเขียนปรับปรุงให้ดีขึ้น 


วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน 
วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาสาระ เพื่อนนำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน วิจัย จากนั้นจากที่สัปดาห์ที่แล้วได้วิเคราะห์การสอนตามแผนเป็นกลุ่ม วันนี้แต่ละกลุ่มก็ได้ออกมาสอน ซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้ 
กลุ่มที่ 1 หน่วยผัก 
กลุ่มที่ 2 หน่วยผีเสื้อ  
กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้  
กลุ่มที่ 4 หน่วยพาหนะ
กลุ่มที่ 5 หน่วยตัวฉัน

การสอนของแต่ละกลุ่ม










ทักษะ/การระดมความคิด
- ภัทรวรรณนำเสนอบทความคณิตศาสตร์  การที่จะทำให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์ได้นั้น ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์คือ การบวก-ลบ ป้ายทะเบียนรถ การไปซุปเปอร์มาเก็ต  ให้เด็กดูป้ายราคา สินค้าชนิดไหนแพงกว่าหรือถูกกว่ากัน
- สาวิตรีนำเสนอตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตใกล้ชิดตัวเรา  ของครุวันทะนีย์ กะตะศิลา โรงเรียนวัดน้ำดิบ จังหวัดลำพูน จากโทรทัศน์ครู นำสิ่งของที่อยู่รอบตัวมาเป็นสื่อการเรียนรู้ ดังนี้
1.การสร้างแรงจูงใจ เช่น การทำขนมต้ม ขนมเปียกปูน
2.ครูจะทบทวนความรู้ เด็กๆเคยทานขนมต้มไหม ขนมต้มมีรูปทรงแบบไหน
3.เสริมความรู้ใหม่โดยกระบวนการกลุ่ม เช่น ทำขนม
4.การนำความรู้ไปใช้ เช่น ทำของเล่น
5.ให้เด็กต่อหลอดเป็นรุปทรงต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แล้วถามเด็กๆว่าคือรูปทรงอะไร
6.ให้เด็กไปหาของในห้องตามรูปทรง ครูกำหนด 
- นรากุลนำเสนอวิจัย การใช้หนังสือภาพเป็นสื่อตัวกลางการเรียนรู้ สื่อเป็นวิธีการเรียนรู้
- ธารารัตน์นำเสนอบทความคริตศาสตร์ เรื่อง สอนคณิตอย่างไรให้สนุก เป็นการสอนที่หาวิธีที่ง่ายให้เหมาะสมกับวัย เช่น การเล่น การต่อบล็อกไม้ ลูกบอล นำดอกไม้มาจำแนกประเภท เป็นต้น

การประเมินผล
บรยากาสในห่้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ แต่ละกลุ่มได้เตรียมวัสดุอุปกรณ์การสอนมาพร้อมเพรียง  อากาศในห้องเย็นสบาย

การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ค่อยข้างที่จะต้องมีสมาธิในการฟังให้มากๆเพื่อวิเคราะห์  เชื่อมโยงบทเรียน

วิเคราะห์ตนเอง
การสอนในวันนี้ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จะต้องปรับแก้ไขให้ดีตามคำแนะนำของอาจารย์



วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์  ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559 (เวลา 08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
           วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนคือเพื่อนนำเสนองาน บทความ ตัวอย่างการสอนและวิจัย จากนั้นอาจารย์ได้แบ่งเป็น 5 กลุ่ม นั่งเป็นรูปตัวยูให้แบ่งกลุ่มให้ช่วยกันคิด วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ หน่วยย่อยที่แต่ละกลุ่มคิดจะสอนเรื่องอะไรให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ 6 อย่างได้แก่
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3  เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                   ซึ่งกลุ่มฉันทำหน่วย "ตัวฉัน" ได้แบ่งหน้าที่ดังนี้
        วันจันทร์  สาวิตรีสอนเกี่ยวกับชื่อ/อายุ
        วันอังคาร  นันทนาภรณ์สอนเกี่ยวกับลักษณะของฉัน
        วันพุธ สุธาสิณี สอนเกี่ยวกับ
        วันพฤหัสบดี กัลปพฤกษ์ สอนเกี่ยวกับ
        วันศุกร์  นิตยาสอนเกี่ยวกับ


บรรยากาศการเรียนการสอนตึก 34


ทักษะ/การระดมความคิด
-พัชรภรณ์นำเสนอบทความคณิตศาสตร์  กิจกรรมที่สอนเด็กได้แก่  การเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นกับชีวิตประจำวัน เช่น 1 เหมือนเสาธง 2 เหมือนเป็น ,บัตรคำ ใช้บัตรคำที่เป็นตัวเลข ชูให้เด็กดู  แล้วถามเด็กๆว่านี้คือเลขอะไร, การรู้ค่าจำนวน นับสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดินสอ  สมุด, บทบาทสมมติ ให้เด็กๆสมมติตัวเองเป็นครู  ซึ่งครูต้องพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและ วิธีการจัดเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กจึงเป็นที่มาของคำว่า "เรียนปนเล่น"
-ทาริกา นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง การเรียนรู้การนับจำนวน หน่วยไข่ เป็นการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ขั้นนำ ครูพาเด็กร้องและเต้นประกอบเพลง  แม่ไก่   ขั้นดำเนินการนำไข่วันที่ 1 ให้เด็กนับ ครูถามเด็กว่ามีไข่กี่ฟอง  เด็กตอบว่าถึง ให้เด็กนับเรื่อยๆจนครบห้าวัน  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่ใช้ความจำ  คำบรรยาย ทำตามคำสั่ง ประกอบเพลง ผู้นำผู้ตาม การบูรณาการ การนับและบอกค่าได้
-ณัฐณิชานำเสนอวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบความพร้อมเกมการศึกษาและเพลงกับการใช้ตามคู่มือของครูของมหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มตัวอย่างการสอนนักเรียนชั้นอนุบาล 2  โรงเรียนกาญจนบุรี  มีนักเรียน 2 ห้อง ห้องอ.2/1 สอนโดยใช้เกมการศึกษาและเพลง  ห้องอ.2/2 สอนโดยใช้คู่มือของครู  ผลสรุปการเปรียบเทียบเกมการศึกษาและเพลงดีกว่าการสอนโดยใช้คู่มือของครู
-การระดมความคิดการทำมายแม็บ จำนวน  การแบ่งแบบ 1 ต่อ 1  การจัดกลุ่ม 

การประเมินผล
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆมาเรียนกันเกือบครบ  อากาศในห้องเรียนค่อยข้างเย็น ทำให้เราง่วงนอนในขณะที่อาจารย์สอน

การจัดการเรียนการสอ
แม้อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่พร้อม แต่อาจารย์ก็อธิบายเจาะลึกละเอียด พยายามให้เราวิเคราะห์และคิดตาม อาจารย์อธิบายละเอียดชัดเจนกับเนื้อหาที่เรียน

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้พยายามคิดตามที่อาจารย์สอน และสิ่งที่เพื่อนๆพูด บางเรื่องนึกไม่ออกจริงๆเมื่ออาจารย์ถาม 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
วันศุกร์  ที่  19 มีนาคม พ.ศ. 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
            วันนี้อาจารย์นัดเรียนที่ตึก 2 ตึกคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่จะเรียนที่นี้ อุปกรณ์การเรียนในตัวอาคารเรียนยังมีเยอะมาก อาจารย์ก็ให้นักศึกษาหาอุปกรณ์ที่พอใช้ได้นำไปใช้ประกอบการเรียน จากนั้นเมื่อหาอุปกรณ์การเรียนเสร็จ ก็เรียนที่ห้อง 224 อาจารย์อธิบายการทำมายแม็บ ซึ่งกลุ่มฉันทำเรื่อง หน่วยตัวฉัน ก็จะแบ่งหัวข้อย่อย ดังนี้ 
-ชื่อ/อายุ  
-ลักษณะ 
-สถานที่
-ประโยชน์ของฉัน
-ข้อควรระวัง
  
ทักษะ/การระดมความคิด
- การทำมายแม็บ อันดับแรกเราช่วยกันระดมความคิดจะทำหน่วยอะไร จากนั้นได้ตกลงกันทำเรื่อง  หน่วยตัวฉัน ก็ช่วยกันแบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อย ก็แบ่งคนละหัวข้อให้สมาชิกทุกคนไปแตกความคิดย่อยๆมาจะสอนเรื่องใดที่ให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้

การประเมินผล
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนก็เป็นไปด้วยดี เพื่อนๆมาเรียนค่อยข้างครบ 

การจัดการเรียนการสอ
วันนี้อาคารที่เราเรียนค่อยข้างไม่พร้อมต่อการเรียนเนื่องจากจะทุบตึกแล้ว  แต่อาจารย์ก็ได้ในตึกคณะสอนการทำมายแม็บและสรุปแบบรวบรัดให้เราเข้าใจ


วิเคาระห์ตนเอง
ฟังอาจารย์อธิบายการทำมายแม็บ แล้วก็พยายามคิดตาม และได้แบ่งงานกับเพื่อนๆเลือกหัวข้อใครจะรับผิดชอบหัวข้ออะไร


วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  8
วันศุกร์  ที่11 มีนาคม พ.ศ.2559(เวลา08.30-12.30น.)




เนื้อหาที่เรียน
          อาจารย์มอบหมายงานให้ทำจิกซอ

อุปกรณ์การทำ
       1.ตัวแบบ
       2.กระดาษกะลัง
       3.ดินสอ
       4.ไม้บรรทัด
       5.คัตเตอร์

ขั้นตอนการทำ

1.วาดภาพตามตัวแบบ





2.ใช้คัตเตอร์ตัดตามรูปร่าง



3. ผลงาน




ทักษะ/การระดมความคิด
- รูปร่าง รูปทรง

การประเมินผล
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆมีความตั้งใจในการทำงานดี และมีเพื่อนบางส่วนไปช่วยอาจารย์เก็บเอกสาร


การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมาให้เราทุกสัปดาห์


วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้ไปช่วยอาจารย์เก็บเอกสารจนกระทั่งเสร็จ



วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
เริ่มต้นการเรียนด้วยการนำเสนอบทความ ตัวอย่างการสอน  วิจัย  จากนั้นก็อาจารย์แบ่งงานงานคู่ให้ทำตารางเป็นสื่อการเรียนการสอนคณิตศสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัสดุ/อุปกรณ์
1.กรรไกร/คัตเตอร์
2.กาว
3.ไม้บรรทัด
4.กระดาษเปล่า
5.แผ่นกะลัง
6.สติกเกอร์
7.สก้อตเทป
8.กระดาษเคลือบ

ขั้นตอนการทำ
1.วางแผน ออกแบบการทำตาราง
2.ตัดแผ่นกะลังเป็นครึ่งหนึ่ง
3.นำแผ่นกระดาษเปล่ามาวัดความกว้างความยาวของช่องตารางตามขนาดที่ต้องการ
4.ทากาวบนแผ่นกะลัง แล้วนำกระดาษมาติดทีละข้าง
5.นำสติกเกอร์ติดขอบในช่องตารางทุกช่อง
6.ตัดกระดาษเคลือบให้เหลือขอบเล็กน้อย แล้วนำมาเคลือบตาราง

ภาพประกอบขั้นตอนการทำตาราง

















ทักษะ/ระดมความคิด
-  รู้จักตัวเลขจำนวน  ค่าของตัวเลข สังเกตรูปทรง


ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
        บรรยากาศในห้องเย็นสบาย  มีสื่ออุปกรณ์พร้อมสำหรับการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
       ช่วงที่เพื่อนนำเสนองานอาจารย์ก็มีอธิบายความรู้เพิ่ม แล้วก็มีการถามนักศึกษาให้เราได้แสดงความคิดเห็น

วิเคาระห์ตนเอง
        วันนี้ฉันนำเสนอบทความ ก็เตรียมพร้อมสำหรับการนำเสนอมาก่อนหน้านี้พอสมควร วันนี้ก็ทำเต็มที่ งานคู่ก็ช่วยกันทำจนเสร็จ แม้จะมีปัญหาเล็กน้อยในขั้นตอนการทำ  แต่สามารถแก้ไขปัญหาได้







วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันศุกร์ ที่ 19กุมภาพันธ์ 2559(เวลา08.30-12.30น.)

เนื้อหาที่เรียน
สำหรับการเรียนวันนี้ จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์แจกไม้เสียบลูกชิ้นให้เราไปตัดมาสามขนาด วันนี้อาจารย์แจกดินน้ำมันเพิ่ม ให้เราใช้ดินน้ำมันกับไม้เสียบลูกชิ้นทำเป็นรูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยมแล้วอาจารย์ได้อธิบายการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ดังนี้
     
การวิเคราะห์โจทย์  แนวคิด
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
ลงมือทำ
ผลงาน
การประเมินผล

อุปกรณ์

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

รูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า

รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

ทักษะ/ระดมความคิด
-การจัดการเรียน โดยใช้ปัญหาในฐานการสอน 
- การสอนแบบนี้เป็นการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ ให้เด็กลองผิดลองถูก ใช้ศิลปะสร้างสรรค์ชิ้นงาน 
- วราพร นำเสนอบทความ  เรียน เล่นคณิต ของชั้นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เด็กด้อยโอกาส ใช้การร้องเพลง เล่นเกมหยิบก้อนหินตามคำที่ครูบอกในการเรียนรู้
-ธณภรณ์ นำเสนอวิดีโอตัวอย่างการสอนของโทรทัศน์ครู การสอนคณิตศาสตร์ 
-นิตยา นำเสนอวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2551 ของนักเรียน คือชายหญิง อนุบาล 2  "เรื่องกล้วยแสนอร่อย"  ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้ 3ขั้น ได้แก่ ทบทวนความรู้ เลือกหัวข้อที่สนใจ, ค้นคว้าวิจัยหาความรู้, การประเมินผล

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อน เซค 101มาเรียนด้วย ห้องเรียนค่อยข้างหนาแน่น อากาศในห้องเรียน

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์อธิบายความรู้ให้ก็ช่วยให้เราคิดวิเคราะห์ เมื่ออาจารย์ถาม นักศึกษาก็ช่วยกันตอบดี

วิเคราะห์ตนเอง
ฟังอาจารย์อธิบายและเพื่อนนำเสนองาน และจดบันทึกเพิ่มในสมุดด้วย



วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)



เนื้อหาที่เรียน
      วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้ทำตางรางและให้แรงเงารูปภาพ   ถ้าเด็กๆได้ลงมือกระทำกิจกรรมแบบนี้เด็กจะมีความสุข  เพราะเป็นการทำแบบอิสระ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง  จากนั้นเพื่อนได้นำเสนอบทความ  ตัวอย่างการสอน วิจัย  แล้วดูหนังสือนิทาน เรื่อง เต่าน้อยให้วาดรูป  เป็นนิทานที่สอนรูปทรงคณิตศาสตร์  เช่น วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นต้น  จากนั้นอาจารย์เปิดวิดีโอการเรียนแบบ Project  Approach ของโรงเรียนเกษมพิทยา ที่สอนโปรเจคเรื่องเห็ด ซึ่งมีลักษณะการเรียนแบบProject  Approachมี  5 ลักษณะ ได้แก่ การอภิปราย การนำเสนอประสบการณืเดิม การทำงานภาคสนาม  การสืบค้น  การจัดแสดง  เมื่อดูเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มทำงานกลุ่มเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย

ทักษะ/ระดมความคิด
- การเรียนรู้ที่ดี จัดกิจปกรรมให้เด้กลงมือกระทำ  เช่น กิจกรรมแรงเงารูปภาพ  ทำให้ได้ฝึกทักษะการคิด สืบเสาะหารูปทรงต่างๆ

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆมาเรียนเช้าก็มานั่งรอเรียนในห้องเรียน  แต่มีจำนวนน้อยที่เข้าเรียนสาย  อากาศในห้องก็ไม่ร้อนไม่เย็นมาก

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์สอนละเอียดดี เมื่อพูดถึงเรื่องหนึ่งอาจารย์ก็จะอธิบายเรื่องนั้นแล้วค่อยเปลี่ยนเรื่องใหม่สอน  อาจารย์ใจดี เมื่อเห็นว่านักศึกษาทำตัวไม่เหมาะสม อาจารย์ก็ตักเตือน เพื่อให้เราปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น

วิเคาระห์ตนเอง
วันนี้หนูก็ฟังอาจารย์อธิบาย  ช่วงอาจารย์ถามก็ตอบเป็นครั้งคราว 


วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
วันศุกร์  ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
- วันนี้อาจารย์ได้เอาตัวอย่างปฏิทินมาให้ดู และช่วยกันวิเคาระห์ปฏิทินว่าเป็นสื่อช่วยส่งเสริมเรื่องใดบ้าง  เรียนเกี่ยวกับตารางเวรประจำวัน ประเภทเกมการศึกษา เพลง และเพื่อนนำเสนอ บทความ ตัวอย่างการสอนและวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  จากนั้นก็ได้นำเสนอของเล่นที่แต่ละกลุ่มเตียมมมา



ทักษะ/ระดมความคิด
- ปฏิทิน ช่วยส่งเสริม การจัดหมวดหมู่ สี วัน เลขฮินดูอารบิก 


ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
- อากาศดี ไม่หนาว ไม่ร้อน ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้จัดเป็นระเบียบ อุปกรณ์การสอนก็พร้อมสำหรับการใช้งาน 

การจัดการเรียนการสอน
- อาจารย์ก็สอนตามแผนที่อาจารย์ได้เตรียมมา  บทเรียนไม่ยากมาก  

วิเคราะห์ตนเอง
- บางคำถามที่อาจารย์ถามก้ยังคิดไม่ออกว่าต้องตอบว่าอะไร แต่พยายามคิดตามเมื่ออาจารย์อธิบาย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน จดบันทึกความรู้ใหม่ลงในสมุด

ชดเชย



เนื้อหาที่เรียน
- การอ่านเวลาก่อนและหลัง การแบ่งกลุ่ม จำนวน ตัวเลขฮินดูอารบิก และต้องดูพัฒนาการของเด็ก ตามช่วงอายุตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง  ด้วยวิธีการเรียนรู้ สัมผัสทั้ง  5 ด้วยการลงมือกระทำ
- สาระสำคัญ
  สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  สาระที่ 2  การวัด
  สาระที่ 3  เรขาคณิต
  สาระที่ 4  พีชคณิต
  สาระที่ 5  การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  สาระที่ 6  ทักษะและกระวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะ / ระดมความคิด
- การอ่านเวลาก่อนและหลัง จำนวน ตัวเลขฮินดูอารบิก  การแบ่งกลุ่ม

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
- อุปกรณ์ในห้องเรียนพร้อมสำหรับการเรียนการสอน  อากาศกำลังดี ไม่เย็นไม่ร้อนมาก

การจัดการเรียนการสอน
-วันนี้อาจารย์ติดธุระนิดหน่อย แต่ด้วยความห่วงใยต่อศิษย์ อาจารย์รีบมาสอนพวกเรา

วิเคราะห์ตนเอง
- จดบันทึกเพิ่มเติมเมื่ออาจารย์อธิบาย


วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

                               บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 

               วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหาที่เรียน
     - วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์แจกกระดาษให้แบ่งคนละครึ่ง จากนั้นก็บอกให้เขียนชื่อเรา แล้วอาจารย์ก็บอกให้พวกเราไปติดชื่อในตางรางรายชื่อนักเรียนที่เขียนว่ามา
     - เพื่อนๆจำนวน 3 คน นำเสนอบทความคณิตศาสตร์ ตัวอย่างการสอนคณิตศาสาตร์ และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
     - กิจกรรมร้องเพลงคณิตศาสตร์ ได้แก่ เพลงสวัสดียามเช้า  เพลงสวัสดีคุณครู เพลงหนึ่งปีมีเพลงสิบสองเดือน เพลงเข้าแถว  เพลงซ้ายขวา เพลงจัดแถว เพลงขวดห้าใบ 
     - เรียนทฤษฎีเรื่องสาระคณิตศาสตร์


ทักษะ /ระดมความคิด
-กิจกรรมเขียนตารางสมาชิกของห้อง เสริมทักษะการลบจำนวน  การเขียนเลขฮินดูอารบิก การเปรียบเทียบจำนวนน้อยกว่า มากกว่า
-เพลง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ จำนวนนับ ทิศทาง ตำแหน่ง  


ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน 
-ช่วงเช้าวันนี้ไฟดับ ก็เปิดหน้าต่างเรียน แต่สักพักไฟมา 

การจัดการเรียนการสอน
-มีการตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา 

วิเคราะห์ตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกเพิ่มเมื่ออาจารย์อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์




วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ

พ่อธีร์ แชร์เทคนิคสอนลูก "เก่งเลข" ง่ายนิดเดียว




พ่อธีร์ แชร์เทคนิคสอนลูก เก่งเลข ง่ายนิดเดียว


         คือพ่อธีร์ ปัณณธีร์ได้แชร์เทคนิคสอนลูกให้เรียนเก่ง พ่อธีร์ได้เขียนหนังสือ คณิตศาสตร์เรื่องง่ายสอนได้ก่อนอนุบาล ซึ่งเป็นเรื่องดังจากเว็บบอร์ดที่มีคนเข้าไปอ่าน 200,000 ครั้ง พ่อธีร์นำมาทดลองสอนลูกวัย2 ขวบ พบว่าลูกเก่งคณิตศาสตร์อย่างน่าอัศจรรย์

       
โดยพ่อธีร์ แนะนำว่าควรเริ่มจากให้เด็กรู้จักสัญลักษณ์ของตัวเลข สอนให้นับ 1-10 สอนให้รู้จักจำนวน สอนเขียนตัวเลขโดยไม่จับดินสอ แต่ใช้นิ้วลากไปตามตัวเลข แล้วค่อยๆเพิ่มความซับซ้อนของเนื้อหาตามความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 4 กิจกรรมพื้นฐานที่พ่อธรีออกแบบไว้สำหรับพ่อแม่เพื่อนำไปใช้ให้เด็กเรียนรู้ที่บ้าน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
        1. ทายลูกปัด เป็นกิจกรรมที่สอนให้ลูกรู้จักจำนวน  การเพิ่มการลด 
        2. นับเลขปากเปล่า เป็นกิจกรรมนับเลขเร็ว หรือจับเวลาให้ลูกนับไม่เกิน 1นาที เช่น 1-10 เป็นการฝึกความไวของสมองในการนับเลข
       3. วางเบี้ย เป็นกิจกรรมให้ลูกรู้จักใช้สายตา การมอง และการสัมผัส เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตำแหน่งของตัวเลขได้อย่างแม่นยำ
      4. เขียนเลข เป็นกิจกรรมฝึกให้ลูกเกิดการรับรู้ที่ดี เพราะประสาทสัมผัสของลูกส่วนใหญ่จะอยู่ที่นิ้วมือ

     
ทั้ง 4 กิจกรรมนี้ พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเก่งเลขก็สอนลูกได้ ที่สำคัญอย่าพยายามทำให้เป็นทฤษฎี พยายามเล่นกับเด็กด้วยท่าที สีหน้าและความรู้สึกที่เหมาะสม  โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ที่สำคัญเลิกคาดหวังว่าลูกจะทำได้  ตัดความคาดหวังออกไปให้หมด เพราะถ้าเกิดคุณหวัง ความกดดันจะเกิดกับเด็กทันที พวกนี้ล้มเหลวหมด  ดังนั้นใช้ความเป็นธรรมชาติเล่นกับลูก วันนี้ลูกทำไม่ได้ วันหน้าค่อยว่ากันใหม่  แต่ขอให้ใจเย็นๆ กระทำเป็นนิสัย และเล่นกับลูกให้สนุกก็พอ เพราะถ้าลูกสนุก อะไรๆมันก็ง่ายขึ้น พ่อธีร์กล่าว
        
    ที่มา :  http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000154241



สรุปตัวอย่างการสอนสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา) 



            ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กระดับปฐมวัย จำเป็นที่ครูปฐมวัยพันธุ์ใหม่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ  อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะการใช้ นิทานเป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็ก ๆ จะทำให้เขารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป

          วิชาคณิตศาสตร์ก็ควรจะให้เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์  เราอยากให้เด็กมีทัศนะคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  เพราะว่าพอเด็กได้ยินคำว่าคณิตศาสตร์เด็กก็จะนึกถึงอะไรที่เป็นเรื่องที่ยาก  แต่เราสามารถที่จะปรับคณิตศาสตร์ให้เป็นเรื่องที่ง่ายได้  แต่เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ดี คือธรรมชาติของเด็ก เด็กชอบนิทาน  เด็กชอบฟังนิทานเราสามารถนำคณิตศาสตร์มาสอนโดยผ่านนิทาน   ซึ่งอาจารย์ธิดารัตน์ได้ยกตัวอย่างการสอนเรื่องการเปรียบเทียบ โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานเข้าสู่เนื้อเรื่องที่จะสอน  ใช้นิทานลูกหมูสามตัวมาเปรียบเทียบ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมแสดงเป็นตัวละคร จากนั้นก็ให้นักเรียนวิเคราะห์ร่วมกับครู เปรียบเทียบบ้าน เช่น หนัก หรือเบา  ขนาดของลูกหมู

ที่มา : http://thaiteachers.tv/tv/?t=10&c=367&v_page=1




สรุปวิจัย

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม

ศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ




ปริญญานิพนธ์ของ   : พิจิตรา เกษประดิษฐ์
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย  พฤษภาคม 2552 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยศรี-นครินทรวิโรฒ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้   ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง ที่มีอายุ 3 - 4 ปี ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ ซึ่งได้มาโดย
การสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จากจำนวนทั้งหมด 4 ห้องเรียน และได้เด็ก
จำนวน 20 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง ใช้เวลา
ในการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

การดำเนินการทดลอง
มีลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
2. ทำการทดสอบก่อนการทดลองกับนักเรียนกลุ่มทดลอง ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มทดลอง โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
กลุ่มละ 5 คน จำนวน 4 กลุ่ม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ระหว่างเวลา
10.00 – 10.20 . รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง จำนวน 24 กิจกรรม



ตัวอย่างการเขียนแผนการสอน



   

สรุปผลการวิจัย
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูง
กว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ที่มา : http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Pigitra_K.pdf